ระบบควบคุมงานเกษตรกรเเละเงินเกี้ยว (Agronomy and Farmer Control,AFS)



        เป็นระบบงานที่ใช้บริหารและจัดการข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรแต่ละรายที่เข้ามาทำสัญญาทำเกษตรกรรมกับบริษัททั้งการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเหมาะสมกับอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ใช้ควบคุมระบบอ้อย/เงินเกี้ยว อุตสาหกรรมมันฝรั่งอบกรอบที่ใช้ควบคุมการเพาะปลูกมันฝรั่ง อุตสาหกรรมแป้งมัน ยางพารา ข้าวโพดหรืออื่นๆ ที่มีการส่งเสริมการเกษตร โดยระบบนี้จะมีหน้าที่หลักโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ


1.งานในช่วงปิดหีบ (ช่วงส่งเสริมชาวไร่)



        - งานจัดทำประวัติและควบคุมหลักทรัพย์ โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดพื้นที่การส่งเสริม กำหนดพนักงานส่งเสริม การจัดกลุ่มและเกรดของชาวไร่ จัดทำประวัติของชาวไร่แต่ละรายรวมถึงการถ่ายรูปที่บ้าน รูปถ่ายเกษตรกรเพื่อจัดทำบัตรประจำตัวชาวไร่ การบันทึกข้อมูลหลักทรัพย์ที่ชาวไร่จะนำมาค้ำประกัน

        - งานแจ้งพืชผลและสำรวจพื้นที่ จะเริ่มตั้งแต่การรับแจ้งความต้องการเพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ปลูก(CROP) โดยจะดำเนินการเก็บสภาพพื้นที่ รวมถึงถ่ายรูปและเก็บข้อมูล GPS ซึ่งสามารถ Attach File นี้เก็บในระบบได้ พร้อมทั้งประเมินพืชผลที่จะส่งได้ ถ้าคิดว่าเหมาะสมจะจัดทำสัญญารับซื้อ(Quota) ให้กับเกษตรกรคนนั้น ซึ่งถ้าเกษตรกรต้องการเงินส่งเสริมก็ประเมินราคาและกำหนดวงเงินพร้อมกับส่งให้ผู้บริหารทำการอนุมัติวงเงินอีกครั้งหนึ่ง และภายหลังจากที่ได้ส่งเสริมไปแล้วจะมีการติดตามการเพาะปลูกของชาวไร่ ซึ่งจะเป็นการออกไปสำรวจแปลงจริงในแต่ละแหล่งเพื่อประเมินพืชผลที่จะส่งได้จริง

        - งานอนุมัติสินเชื่อและจ่ายเงินส่งเสริม/เงินเกี้ยว ปุ๋ย ยา พันธุ์พืชหรืออื่นๆ ภายหลังจากที่ได้อนุมัติวงเงินส่งเสริมแล้ว เมื่อต้องการใช้ในแต่ละครั้งให้ตั้งเรื่องจ่ายเงินส่งเสริม/เงินเกี้ยว หรือจ่ายปุ๋ย ยา พันธุ์พืชหรืออื่นๆ ส่งมาอนุมัติสั่งจ่ายในแต่ละครั้ง แล้วระบบจะตั้งชาวไร่เป็นลูกหนี้ชาวไร่เอาไว้ โดยกำหนดวันที่ตัดชำระกับค่าพืชผลที่นำมาส่งในช่วงเปิดหีบ/รับซื้อ เช่น ทุกวันที่ 7 และ 22 ของเดือนสำหรับอ้อยและน้ำตาลเป็นต้น โดยระบบจะเข้ามาช่วยควบคุมการขอสินเชื่อจ่ายในแต่ละครั้งไม่ให้เกินวงเงินที่ผู้บริหารกำหนดเอาไว้ในแต่ละสัญญารับซื้อ จัดทำบัญชีลูกหนี้ชาวไร่ จัดทำบัญชีคลังสินค้า

        - งานติดตามลูกหนี้ จะเป็นซอฟต์แวร์ส่วนที่ช่วยบริหารหนี้ค้างชำระจากเกษตรกรที่ไม่สามารถส่งพืชผลได้ตามที่กำหนด ทางฝ่ายไร่จะติดตามกับเกษตรกรว่าจะดำเนินการอย่างไรกับหนี้ที่ค้างอยู่นี้ ซึ่งแบ่งได้ 2รูปแบบคือ 1) ชำระหนี้ให้กับบริษัท หรือมีการรวมยอดหนี้เก่าพร้อมดอกเบี้ยกับเงินส่งเสริมในฤดูหีบใหม่เป็นเกี้ยวใหม่โดยตัดหนี้เก่า 2)ลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้ ก็จะดำเนินการส่งเรื่องให้กับทนายไปติดตามฟ้องร้องกับเกษตรกรต่อไปโดยระบบเก็บสถานะหนี้ในขั้นใดเช่น ส่งคำฟ้องร้อง แจ้งมูลหนี้ ประนอมหนี้ ชำระเงิน ปลอดหนี้ เป็นต้น พร้อมเก็บสำเนาเอกสารต่างๆเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ มีกำหนดการในการทำอะไรในครั้งถัดไปบ้างและต้องการให้มีการเตือนให้ทราบได้


2.งานในช่วงเปิดหีบ (ช่วงรับซื้อและจ่ายเงินค่าพืชผล)



        - งานข้อมูลพื้นฐานก่อนเปิดหีบ ซึ่งจะกำหนดไว้เพื่อใช้ในการคำนวณค่าพืชผล รวมไปถึงกลยุทธ์ด้านราคารับซื้อในกรณีที่ในพื้นที่มีคู่แข่งมาก โดยเฉพาะโรงงานน้ำตาลจะมีขบวนการรับซื้อที่มีลักษณะเฉพาะธุรกิจ ระบบจะเข้ามาช่วยในการกำหนดงวดการส่งพืชผล การตั้งราคาตามรัฐบาลในช่วงรับซื้อ พร้อมกับตั้งราคาพิเศษเฉพาะรายหรือกลุ่มเกษตรกร ประเภทหนี้และรูปแบบการตัดชำระหนี้ การจัดกลุ่มเกษตรกรให้พิจารณาการตัดชำระที่ง่ายและจ่ายเงินเร็ว เช่น เกษตรกรที่ไม่มีภาระ มีภาระ ที่ต้องการมีเงินเหลือ เป็นต้น

        - งานรับซื้อพืชผลเข้าสู่ขบวนการผลิต ระบบจะเข้ามาช่วยเชื่อมต่อกับระบบเครื่องชั่งเพื่อดึงข้อมูลการชั่งเข้าและออกมาบันทึกรับซื้อ พร้อมกับดึงข้อมูลคุณภาพจากห้อง Lab เช่น ระบบสำนักงานอ้อยและน้ำตาลที่ให้ค่า CCS และอื่นๆ ในแต่ละเที่ยวและแต่ละวัน เป็นต้น เพื่อคำนวณราคารับซื้อตามเกรดของพืชผลให้ในแต่ละเที่ยว บันทึกการจ่ายน้ำมัน การเรียกใช้บริการ เช่น รถบรรทุก รถตัด รถไถ และออกรายงานประจำวันเพื่อให้ทราบปริมาณการส่งและราคาของพืชผลที่ส่งในแต่ละเที่ยวและแต่ละวันได้ตลอดเวลา

        - งานคิดคำนวณและจ่ายเงินค่าพืชผล ในการส่งแต่ละวันเกษตรกรจะทราบราคาการรับซื้อได้ทุกวันเราสามารถสั่งคำนวณปิดยอดรับซื้อเพื่อตั้งเรื่องจ่ายเงินค่าพืชผลได้ โดยให้ระบบจัดการหักหนี้ค้างชำระต่างๆให้เราอัตโนมัติตามรูปแบบการตัดชำระหนี้ที่เรากำหนดเอาไว้ ซึ่งการปิดยอดรับซื้ออาจจะทำเป็นงวดการจ่าย หรือตามวัน หรือตลอดเวลาที่เกิดรายการได้ และในการตั้งเรื่องจ่ายระบบจะพิจารณาตามเงื่อนไขของเกษตรกรได้ว่าต้องการรับเป็นเช็คหรือโอนเข้าบัญชี พร้อมกับทำรายงานสรุปให้ผู้อนุมัติจ่ายเงินดูสถานะหนี้ในขณะนั้นได้แม้ว่ายังไม่อนุมัติรายการ นอกจากนั้นยังสามารถบันทึกเงินยืมในระหว่างงวด การรับชำระหนี้จากเกษตรกร รวมไปถึงการปรับปรุงยอดหนี้

        - งานวิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผล เพื่อให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลการส่งพืชผลของชาวไร่ตลอดเวลาในรูปของตัวเลข รายงานหรือกราฟแบบ Real Time พร้อมกับประมาณการพืชผลที่เหลือเหมาะสมกับยอดหนี้ที่ค้างชำระหรือไม่ แนวโน้มการส่งพืชผลกับการหักหนี้


การเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ และอุปกรณ์



ระบบ AFS นี้มีการเชื่อมโยงกับระบบงานต่างๆ บน SoftPRO ERP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจนกระทั่งบันทึกบัญชีและออกงบการเงิน ดังต่อไปนี้

        - ระบบสินค้าคงคลัง (IC) กับระบบจัดซื้อและการรับสินค้า (PR) กรณีที่ต้องมีการส่งเสริมเมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย เคมี ซึ่งจะใช้ 2ระบบนี้สำหรับงานฝ่ายจัดซื้อ คลังสินค้า และถ้าโรงงานนั้นกำหนดนโยบายเป็นการขายสินค้าให้เกษตรกรก็จะเชื่อมต่อกับระบบขายและเอกสาร (BO) ออกใบส่งของ ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี พร้อมกับรายงานต่างๆทางด้านการขายและรายงานภาษีขาย

        - ระบบบัญชีแยกประเภท (GL) ทำให้บันทึกบัญชีได้ทันทีที่มีการบันทึกรายการต่างๆ ทำให้เราสามารถปิดบัญชีได้อย่างรวดเร็ว

        - ระบบบัญชีต้นทุนการผลิตสินค้า (PCT) เพื่อให้ระบบคิดต้นทุนการผลิตน้ำตาลหรือผลผลิตต่อไปโดยไม่ต้องการควบคุมการเบิกจ่ายอ้อยหรือผลผลิตทางการเกษตร


นอกจากนั้นยังมีระบบงานที่เลือกใช้งานในการต่อเชื่อมเพื่อให้ระบบใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความรวดเร็วในการทำงาน ลดความผิดพลาดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนี้

        - ระบบควบคุมเครื่องชั่งสินค้าเข้าออก (WG) เพื่อการรับอ้อย/พืชผลเข้าสู่โรงงาน ซึ่งสามารถใช้งานทั้งในส่วนของชั่งพืชผลทางการเกษตรและสินค้าต่างๆได้ แล้วส่งข้อมูลไปสู่ระบบใช้กับเครื่องชั่งได้หลายแบบ

        - นำเทคโนโลยี่บาร์โค้ดมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน ลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล โดยเริ่มตั้งแต่การออกบัตรคิวล็อค การแจ้งคิว การนำรถเข้าชั่ง การดั๊มสินค้าเทเข้าสายการผลิต การชั่งออกและการจ่ายน้ำมันให้กับรถบรรทุก

        - นำระบบ Smart Card มาใช้ในการติดตามรถและบันทึกค่าต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในขบวนการรับซื้อ ได้แก่ ข้อมูลชาวไร่ ชนิดอ้อย รถบรรทุก น้ำหนักและเวลาเข้าออก ขึ้นแท่นเทช่องไหน ได้ค่าตัวอย่างลำดับที่เท่าไหร่ โดยไม่ต้องใช้เอกสาร

        - ระบบ GPS และแผนที่ สำหรับเก็บข้อมูลแปลงเพาะปลูกของชาวไร่ในแต่ละแหล่งโดยใช้อุปกรณ์GPS เก็บค่าพิกัดแล้วนำมาแสดงในโปรแกรม Map Source เพื่อได้บริเวณและคำนวณพื้นที่ ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะถูกบันทึกเอาไว้ในระบบเพื่อการค้นหาและเรียกดูได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับแสดงรูปแผนที่และตำแหน่งของแปลงพร้อมสถานะที่ต้องการทราบได้ เช่น สถานะการส่งพืชผลในช่วงรับซื้อ สถานะการตรวจสภาพการเพาะปลูก

        - Handheld/PDA เพื่อบันทึกข้อมูลในขณะที่ออกไปสำรวจแปลงอ้อย เมื่อกลับมาที่สำนักงานก็สามารถที่จะโหลดข้อมูลเข้ามาในระบบได้ทันที หรือจะส่งทาง Internet/Mail ก็ได้