ระบบควบคุมคุณภาพสินค้า (Quality Control)


เป็นระบบที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยงานในแผนกตรวจสอบคุณภาพสินค้าตั้งแต่วัตถุดิบหรือสินค้าที่รับเข้า (Incoming QC) สินค้าระหว่างผลิต (Inprocess QC) สินค้าที่ผลิตเสร็จครบทุกขั้นตอนก่อนส่งเข้าคลังสินค้าหรือส่งมอบให้กับลูกค้า (FQC/QC5) และสินค้าก่อนส่งให้กับลูกค้า (QA/QC6) รวมไปถึงเรื่องการรับคืนสินค้าจากลูกค้า (Customer Reject Collective Action) โดยระบบนี้จะเชื่อมโยงกับระบบจัดซื้อและรับสินค้า (PR) เพื่อนำสินค้าเข้ามาตรวจสอบ ระบบสินค้าคงคลัง (IC) ระบบควบคุมงานก่อสร้างและหน้างาน (PC) เพื่อการตรวจสอบสินค้าระหว่างผลิตในแต่ละงานของแต่ละ Unit ตามระยะงวดการจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมา และสินค้าที่ผลิตได้ก่อนส่งเข้าคลังสินค้าหรือส่งมอบให้กับลูกค้า


สิ่งที่ได้รับจากระบบมีดังนี้

1. สามารถกำหนดกฏเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพได้ และบันทึกผลการตรวจสอบคุณภาพตั้งแต่ระดับ QC2-6 โดยที่ระดับ QC5 จะเป็นการตรวจสอบโดยฝ่ายก่อสร้าง และ QC6 จะเป็นการตรวจสอบโดยลูกค้า และจะบอกสถานะของแต่ละ Unit ได้ว่ามีการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในขั้นตอนใดแล้ว

2. สามารถเก็บข้อมูลการแจ้งปัญหาจากลูกค้า หรือการตรวจสอบแต่ละครั้งได้ เพื่อนำไปใช้ในการติดตามการแก้ไขงาน และออกใบแจ้งซ่อมไปยังหน่วยงานก่อสร้างต่อไป

3. ระบบจะมีการควบคุมการตรวจสอบโดยแยกเป็น Incoming QC (IQC) Inprocess QC (IPQC) Finished QC (FQC) และ Quality Assurance (QA) โดยสามารถตั้งข้อกำหนดในการตรวจสอบโดยแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ได้ และนำไปผูกกับสินค้าต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการบันทึกผลการตรวจสอบในแต่ละครั้งได้ โดยระบบสามารถที่จะเก็บผลการตรวจสอบในแต่ละค่าได้ พร้อมกับพิมพ์รายงานการตรวจคุณภาพสินค้า พิมพ์ใบ PASSED หรือใบ REJECTED สินค้าในแต่ละครั้ง พิมพ์รายงานสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ (NCR) เพื่อแจ้งให้กับ Supplier รวมไปถึงใบโอนงานสินค้าเข้าคลังของดี (Goods Transfer Form) ได้

4. สามารถกำหนดเหตุผลในการตรวจสอบสินค้าได้ Rejected สินค้าด้วยเหตุผลใดบ้าง และมีรายงานวิเคราะห์ความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละสาเหตุ (Defect Report)

5. ระบบจะมีการคำนวณวันหมดอายุของสินค้า (Expired Date) และวันตรวจสอบในครั้งถัดไป (Recheck Date) ทั้งวัตถุดิบที่ซื้อมา หรือสินค้าที่ผลิตขึ้น พร้อมกับมีรายงานให้ผู้ใช้เรียกดูสินค้า LOT ไหนที่ยังมีสินค้าคงเหลืออยู่และจะหมดอายุบ้าง หรือจะต้องมีการตรวจสอบแล้วบ้าง (Recheck and Expired Stock Report) โดยสามารถเรียกดูล่วงหน้าได้

6. ระบบจะมีการจัดเก็บประวัติการตรวจสอบสินค้าแต่ละรายการเอาไว้ทุกครั้ง และสามารถพิมพ์เป็นรายงานแสดงประวัติการตรวจสอบได้รายตัว (Quality History Report)

7. ระบบจะมีรายงานแสดงสินค้าที่รอการตรวจสอบอยู่ในขณะนั้นได้ซึ่งจะเป็นการรับสินค้าจากการสั่งซื้อ หรือสินค้าที่กำลังผลิตอยู่ในขณะนั้น เพื่อให้แผนก QC เตรียมงานตรวจสอบ รวมไปถึงสินค้าที่กำหนดตรวจสอบในครั้งถัดไปตามที่กล่าวมาแล้ว

8. รายงานผลการตรวจสอบในแต่ละประเภทและรายงานต่าง ๆ ที่สามารถออกจากระบบดังนี้

     • Incoming QC Report

     • Inprocess QC Report

     • FQC Report

     • QA Report

     • รายงานการเปลี่ยนของ (Goods Exchange Report) หรือรายงานการรับคืนสินค้าตามเหตุผลต่าง ๆ

     • Defect Report เป็นต้น