ระบบวางแผนความต้องการกำลังผลิต (Capacity Requirement Planning)



ระบบนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นระบบควบคุมหน่วยงานผลิตและเส้นทางผลิต (Work Center/Routing Control) ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่ช่วยในการจัดการหน่วยผลิต (Work Center, W/C) และการจัดการเกี่ยวกับการปฏิบัติการผลิต (Manufacturing Operations) ซึ่งจะควบคุมเส้นทางที่วัตถุดิบเดินทางตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดขบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น


Work Center หนึ่งสามารถที่จะรับงานผลิตได้หลายงานพร้อมกัน มีหลายแมชชีน หรือเป็นสถานีพัก (Waiting W/C) มีการบริหารจัดการ Work Center ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะจะทำให้ทราบถึง Work Load ในแต่ละ Work Center ได้ เราสามารถที่จะเพิ่ม ลด ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ ใน Work Center ได้โดยง่าย ทราบกำลังการผลิตมาตราฐานของแต่ละ Work Center อัตราค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงหรือนาที


ระบบส่วนนี้ช่วยให้เราสามารถกำหนดขั้นตอนการทำงานได้อน่างถูกต้อง สามารถที่จะกระจาย Work Load ไปยัง Work Center ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และมีการป้องกันการเกิดการทำงานที่ Work Center หนึ่งๆ มากเกินไปจนไม่สามารถทำงานได้ทัน หรือเรียกว่า Bottleneck ได้ และสินค้าแต่ละชนิดสามารถที่จะมีเส้นทางหลักหรือจะมีเส้นทางอื่นๆ ได้ด้วย ตลอดจนสามารถแยก Setup Time และ Run Time ออกจากกันเพื่อการวางแผนการผลิตที่ละเอียดยิ่งขึ้น


ระบบส่วนนี้ยังมีออเพอเรชั่นอื่นๆ ได้อีกเช่น ออเพอเรชั่นที่คาบเกี่ยวกัน (Overlapped Operation), Alternate Operations, Switchable Operations และ ออเพอชั่นจากภายนอก (Outside Operations) ในแต่ละขั้นตอนผู้ใช้สามารถที่จะเพิ่มคำอธิบายประกอบได้ด้วย


ส่วนที่สองเป็นระบบวางแผนความต้องการกำลังการผลิต(Capacity Requirement Planning) ระบบนี้จะพิจารณาถึงขีดความสามารถในช่วงเวลาของแต่ละหน่วยการผลิตกับงานที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้วางแผนสามารถวิเคราะห์ถึงลำดับการผลิต และยังบอกถึงระดับของงานในแต่ละหน่วยการผลิตว่ามากหรือน้อยไป เมื่อเปรียบเทียบกับขีดความสามารถในแต่ละหน่วยการผลิต


กำลังการผลิตโดยทั่วไปมีหน่วยเป็นปริมาณผลผลิตต่อเวลา เช่น ชิ้นต่อเดือน หรือตันต่อปี เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผนเพื่อจะได้สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการ ระบบนี้จะได้รับข้อมูลมาจากการวางแผนการผลิตหลัก (Master Production Scheduling) และการวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (Material Requirement Planning) มาทำการวางแผนความต้องการกำลังการผลิต(CRP) แล้วระบบจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการวางแผนการกำหนด Capacity ได้ ก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นมา ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงแผนการผลิตหลักใหม่ตามความเหมาะสม หรือเพิ่ม/ลดกำลังการผลิตให้เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการย้ายแรงงาน (Manpower) ระหว่างฝ่ายต่างๆ ในกระบวนการผลิต หรือเลือกใช้เส้นทางการผลิตเส้นทางอื่นๆ หรือสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่ม หรือจ้างแรงงานจากภายนอก เป็นต้น


เมื่อมีการปรับแผนการผลิตสินค้าหลักใหม่ (MPS) และแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP) ใหม่สามารถที่จะนำมาปรับปรุงแผนความต้องการกำลังการผลิตนี้ใหม่ได้