ระบบต้นทุนการผลิต (Production Costing)



ข้อมูลที่เกี่ยวกับราคาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการที่จะทำให้ได้กำไรมากหรือน้อย ระบบนี้มีความสามารถที่จะคำนวณราคาสินค้าที่เหมาะสมว่าควรมีราคาอยู่ในช่วงไหน นอกจากนั้นระบบยังสามารถในด้าน What-if Simulation อีกด้วยซึ่งเป็นตัวสมมุติว่าถ้าราคาเปลี่ยนแปลงไปจะมีผลกระทบกระเทือนอะไรบ้างทำให้ผู้บริหารได้รู้ว่า ตัวเลขต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นไปในทิศทางไหนเพื่อที่จะได้เตรียมการหรือเปลี่ยนแปลงแผนการต่างๆ ได้ทันเวลา


การกำหนดค่าใช้จ่าย โดยใช้ Bills of Material (BOM) และเส้นทางการผลิตสินค้า (Routing for an Assembly) ระบบสามารถที่จะคำนวณค่าใช้จ่ายจากวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบต่างๆ และค่าแรงงานที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนได้


ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขบวนการผลิตอาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้

- Material Cost เป็นค่าใช้จ่ายที่คิดจากราคาวัตถุดิบนั้น ๆ

- Direct Labour Cost เป็นค่าใช้จ่ายที่ให้กับคนงานในการผลิตสินค้าในขั้นตอนหนึ่ง ๆ

- Accumulated Labour Cost เป็นค่าใช้จ่ายสะสมที่ให้กับคนงานในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้า

- Outside Cost เป็นค่าใช้จ่ายพิเศษที่ผู้ขายคิดเพิ่มเติมต่อสินค้าหนึ่งหน่วยซึ่งอาจจะเป็นค่าใช้จ่ายที่จ้างผลิตจากภายนอก


นอกจากนั้น ระบบยังสามารถที่จะให้มีการกำหนด Fixed Overhead Rate หรือ Variable Overhead Rate ได้ในแต่ละสินค้า Fixed Overhead เกิดขึ้นเมื่อชิ้นงานผ่านขั้นตอนการผลิตต่างๆใน Work Center แต่ละแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งนั้น จะมีค่าใช้จ่ายที่แน่นอน อาจคิดเป็นต่อชั่วโมงหรือนาที ส่วน Variable Overhead นั้นจะคิดในรูปของเปอร์เซ็นต์ที่คิดจากค่าแรงงานในขบวนการผลิตสินค้าแต่ละขั้นตอน


ข้อมูลที่นำมาคำนวณหาต้นทุนการผลิตนี้จะมาจากระบบ Shop Floor Control ซึ่งสามารถกระทำได้ในทุกขั้นตอนในการผลิต สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง Standard Cost ในปัจจุบันได้ และมีรายงานแสดงการเปลี่ยนแปลง (Standard Cost Convertion Variance)


ข้อมูลจากระบบนี้ ทำให้เรารู้ถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง (Actual Cost) และค่าใช้จ่ายมาตราฐาน (Standard Cost) ตาม Bill of Material และ Routing