ระบบวิเคราะห์การขาย (Sales History and Analysis System)



    ระบบวิเคราะห์การขาย โดยใช้คอมพิวเตอร์นี้ จึงมีประโยชน์อย่างมากสำหรับกิจการขายต่างๆ ซึ่งระบบนี้สามารถออกรายงานวิเคราะห์ยอดขายได้หลายรูปแบบ โดยวิเคราะห์ทางด้านพนักงานขาย ลูกค้า และสินค้า โดยอาศัยข้อมูลจากใบกำกับสินค้าหรือข้อมูลเกี่ยวกับการขายประจำวัน และยอดขายสะสมต่างๆ ใน History


    นอกจากนี้ยังสามารถเปรียบเทียบผลกำไรที่ได้รับ ระหว่างยอดขายและต้นทุนขายที่เกิดจากระบบคลังสินค้า (Inventory Control) โดยเปรียบเทียบยอดขายในแต่ละเดือน หรือแต่ละปี ระหว่างพนักงานขาย ระหว่างลูกค้า และระหว่างสินค้าชนิดต่าง ๆ ได้


    รายงานวิเคราะห์การขายเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายบริหารอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้ผู้บริหารสามารถศึกษาลักษณะแนวโน้มทางด้านการตลาด เช่น สามารถทราบได้ว่าลักษณะลูกค้าประเภทใดที่ให้กำไรแก่กิจการดีที่สุด ลูกค้ารายใหม่ที่ซื้อที่ละมากๆอาจไม่ได้ให้กำไรแก่กิจการเท่ากับลูกค้ารายย่อยที่ซื้อปริมาณน้อยๆ หรือสินค้าที่เป็นที่นิยมทั่วไปในตลาดอาจให้กำไรกับกิจการเพียงเล็กน้อย หรือพนักงานขายซึ่งยอดขายมากไม่ได้ทำกำไรให้กับกิจการเท่ากับพนักงานขายซึ่งมียอดขายต่ำกว่า

คุณสมบัติของระบบ

1. ระบบนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบใบกำกับสินค้า (Billing Order) และระบบบัญชีลูกหนี้และการรับชำระเงิน (Account Receivable & Cash Received) ซึ่ง เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายบริหารมากยิ่งขึ้น

2. สามารถบันทึกเป้าหมายการขาย (Sales Target) แยกตามพนักงานขาย ลูกค้า และสินค้าชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการออกรายงานเปรียบเทียบการขายระหว่างยอดขายจริงกับเป้าหมายที่วางไว้

3. สามารถกำหนดพนักงานขายในบริษัทได้ไม่มีจำนวนจำกัด และกำหนด Sales Supervisor ที่ควบคุมพนักงานขายแต่ละกลุ่มได้

4. สามารถคำนวณ Commission สำหรับพนักงานขายแต่ละรายได้ โดยกำหนด Sales Commission Scheme และออกรายงานเกี่ยวกับ Commission เพื่อให้กับฝ่ายบัญชีทำการจ่ายเงินรวมกับเงินเดือนที่ได้รับในงวดนั้น ซึ่งในที่นี้ถ้านำระบบนี้เชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบบัญชีค่าแรงและเงินเดือน (Payroll System) เพื่อให้ระบบทำการจ่ายเงินค่า Commission กับพนักงานขายรวมกับรายได้ในงวดนั้นได้ ทำให้ช่วยลดขั้นตอนการทำงานลงได้อย่างมาก

5. อื่นๆ ได้แก่ เราสามารถออกแบบระบบวิเคราะห์การขาย ให้สามารถนำไปใช้ในการคาดคะเนทางตลาด(Sales Forecasting) และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ร่วมกับระบบการวางแผนในการผลิตสินค้าหลัก (Master Production Scheduling) การพยากรณ์สินค้าคงเหลือ (Inventory Forecasting) และ ปริมาณการสั่งซื้อ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับกิจการนั้น